เคล็ดลับการเทรดสั้น

เคล็ดลับการเทรดสั้น

เคล็ดลับการเทรดสั้น บทเรียนครั้งนี้จะเจาะลึกถึงเทคนิคการเทรดสั้นที่ได้ผล โดยจะชี้ให้เห็นทั้งสิ่งที่ควรทำ และ สิ่งที่ควรเลี่ยง รวมถึงการใช้ไทม์เฟรม และ สัญญาณที่เหมาะสมในการเทรดสั้น ซึ่งเท่าที่เห็นตาม Youtube และ สื่อต่างๆ ที่กล่าวถึงการเทรดสั้นที่แนะนำเครื่องมือหรือสัญญาณที่ใช้ไม่เหมาะสมกับการเทรดสั้นเลย ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเปลี่ยนการเทรดไปเป็นการพนันเพราะสัญญาณพาไป มือใหม่น่าจะมากกว่า 95% มักจะเข้ามาเทรดโดยเน้นการเทรดสั้นเป็นหลัก ด้วยเหตุผลคือรู้ผลได้เสียเร็วทันทีไม่รอนาน เข้าทำกำไรสั้นๆไม่เสี่ยงถือออเดอร์ยาว หรือบางท่านคิดว่าเพราะเงินทุนน้อยจึงเลือกเทรดสั้นซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิดพลาดอย่างมาก ที่กล่าวมามีถูกอยู่ข้อเดียวคือ รู้ผลได้เสียเร็วทันทีไม่รอนาน

คราวนี้เราจะมาเรียนรู้แบบเจาะลึก แต่ไม่ยืดยาว เอากระชับๆว่า หากต้องการเทรดสั้นแล้วให้ได้ผลดี สามารถทำกำไรได้ต่อเนื่อง จะต้องใช้ไทม์เฟรมไหน เครื่องมือตัวไหนที่เหมาะสม และ มีความแม่นยำสำหรับการเทรดสั้นโดยเฉพาะ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงของผู้เขียนที่ผ่านวงการเทรดไบนารี่ออฟชั่นมานานในอดีต ก่อนจะผันตัวมาเทรดในตลาดฟอเร็กซ์เป็นหลัก ผ่านการใช้เครื่องมือสำหรับเทรดสั้นมามากมายหลากหลายตัว รวมถึงประสบการณ์ในการเขียนระบบเทรด ทำให้มองเห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งของวิธีการเทรดและเครื่องมือที่ใช้เทรดสั้นมามากพอสมควร ซึ่งสามารถช่วยให้ท่านไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียเวลา ความจริงควารู้เกี่ยวกับการเทรดสั้นก็ได้เขียนไว้ในหลายๆบทเรียนไว้แล้ว เพียงแต่ไม่ได้เขียนขึ้นมาในหัวข้อเรื่องการเทรดสั้นโดยเฉพาะ อาจจะไม่สะดวกในการไล่ศึกษาตามบทเรียนต่างๆ เพื่อให้สะดวกในการศึกษาเรื่องของการเทรดสั้นจึงเป็นที่มาของบทเรียนครั้งนี้

เทรดสั้นให้ได้ผลดีต้องใช้เงินทุนสูง

ต้องขออนุญาตเริ่มต้นที่หัวข้อนี้ เพราะเป็นหัวข้อที่มีความเข้าใจผิดกันมาก และ เป็นหัวข้อที่สำคัญอย่างมากต่อการเทรดสั้นให้ได้ผลหรือให้ได้กำไรต่อเนื่อง มือใหม่จำนวนมากคิดว่าทุนน้อยต้องเทรดสั้นๆระยะเก็บกำไรสั้นๆจะได้ไม่โดนลากติดลบหนัก ถือว่าเป็นความเข้าใจที่อันตรายมาก ด้วยเหตุผลคือ

งานเทรดที่ถูกต้องจะต้องกำหนดจำนวนออเดอร์(ไม้)ที่จะเทรดได้ทั้งหมดจากเงินทุนที่มีอยู่

การกำหนดจำนวนออเดอร์ทั้งหมดหมายถึงการคำนวณตามความเสี่ยงที่จะใช้ในการเทรด ขออนุญาตยกตัวอย่างจากจำนวนเงินทุนยอดนิยมก็แล้วกัน สมมุติมีเงินทุนที่ $100 ก็ประมาณสามพันกว่าบาทก็ถือว่ามากอยู่สำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน หรือ มีรายได้ไม่มากนัก

ทำไมต้องกำหนดจำนวนออเดอร์ การกำหนดจำนวนออเดอร์ที่จะเทรดหมายถึงมันจะทำให้เราได้รู้ล่วงหน้าว่าเงินทุนที่มีอยู่ขณะนั้นจะสามารถเทรดผิดพลาดต่อเนื่องกันได้กี่ออเดอร์จึงจะล้างพอร์ต เมื่อเรารู้พิกัดจำนวนออเดอร์ที่จะสามารถพลาดได้ มันก็ทำให้เราสามารถที่จะควบคุมความผิดพลาดหรือควบคุมเกมการเทรดได้ง่ายกว่าที่เราไม่ได้รู้เลยว่าเงินทุนที่มีจะเทรดได้เท่าไหร่จึงจะล้างพอร์ต

ในสถานการณ์จริงเทรดเดอร์จำนวนมากไม่ได้กำหนดจำนวนออเดอร์ในการเทรดเลย และ มักจะล้างพอร์ตด้วยจำนวนไม่กี่ออเดอร์ บางท่านมีทุน $100 เทรดไปเพียง 3 ออเดอร์ก็ล้างพอร์ตแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือเราต้องถูกไล่ออกไปจากเกมการเทรด เกิดอาการจิตตก และ กังวล เกิดความกลัวพลาดอีก ดังนั้นการพยายามรักษาให้เราอยู่ในเกมการเทรดให้ได้นานที่สุดจึงเป็นวิธีคิดที่ถูกต้องสำหรับงานเทรด สร้างขวัญกำลังใจให้เราเกิดพลัง ยิ่งเราอยู่ในเกมการเทรดได้นาน โอกาสที่จะทำกำไรก็มีมาก แม้จะขาดทุนไปบ้างแต่ก็ยังสามารถมีโอกาสที่จะทำกำไรกลับคืนมาได้อยู่ เพราะเรายังไม่ถูกไล่ออกไปจากเกมการเทรดนั้นเอง

จะรู้ได้อย่างไรว่าจะสามารถเทรดได้ทั้งหมดกี่ออเดอร์จากเงินทุนที่มีอยู่จึงจะล้างพอร์ต

เราสามารถใช้หลักการคำนวณง่ายๆก็จะได้คำตอบแล้ว ไม่ต้องกลัวการคำนวณ เพราะมันแค่สูตรง่ายๆเป็นสูตรความรู้คณิตศาตร์ระดับประถมเท่านั้น เพราะบางท่านพอได้ยินได้เห็นคำว่าคำนวณก็จะโบกมือลาทันที งานเทรดจะออกมาดีจะหนีการคำนวณไม่ได้เลย ต้องเปิดใจยอมรับได้แล้ว งานเทรดที่ดีจำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้า แผนล่วงหน้าก็ได้มาจากการคำนวณ

สมมุติว่าเรากำหนดความเสี่ยงของการขาดทุนไว้ที่ 1% ต่อออเดอร์ หากเรามีเงินทุน $100 ค่า 1% ก็คือ $1 (เอาเครื่องคิดเลขกดดูได้เลย) ตอนนี้เรารู้แล้วว่าหากเราเทรดพลาดเราจะเสียเงินขาดทุนไปที่ $1 ดังนั้นหากคิดแบบตัวเลขกลมๆ เราจะสามารถเทรดขาดทุนติดต่อกันได้ถึง 100 ครั้งสำหรับเงินทุน $100 จึงจะล้างพอร์ต (ความจริงอาจได้แค่ 90 กว่าครั้ง เพราะมีค่าธรรมเนียมของโบรก แต่มันไม่ได้มากมายเท่าไหร่ ไม่ต้องไปซีเรียส คิดแบบตัวเลขกลมๆก็พอ)

เมื่อรู้ตัวเลขขาดทุนแล้ว จะใช้ Lot เท่าไหร่

วิธีการคำนวณหา Lot ก็ง่ายๆ เมื่อเรารู้ตัวเลขขาดทุนแล้วก็ใช้สูตรดังนี้ จำนวนเงินขาดทุน/จำนวนเงินทุนที่มี  แทนค่าสูตรได้ตามนี้ $1/$100=0.01 สมมุติมีทุน $150 และหากยอมขาดทุน $5 จะใช้ Lot เท่าไหร่ ก็คำนวณได้ดังนี้ 5/150=0.0333 ในการคำนวณเกี่ยวกับ Lot เราจะใช้ทศนิยมเพียง 2 ตำแหน่งเราจะไม่ปัดเศษทศนิยมขึ้น ค่า Lot ที่ได้ก็คือ 0.03 Lot

เมื่อรู้ค่า Lot แล้ว ใช้ระยะ Stop loss เท่าไหร่

การหาค่า Stop loss ก็ง่ายๆ เพราะเรารู้ตัวเลข จำนวนเงินทุน จำนวนเงินขาดทุน และ Lot แล้ว เราก็คำนวณง่ายๆดังนี้  จำนวนเงินขาดทุน/Lot เช่นยอมขาดทุน $1/0.01=100 จุด หากยอมขาดทุนที่ $2 ด้วย ออเดอร์ 0.02 Lot ล่ะ ก็จะได้ดังนี้ 2/0.02=200 จุด

ถ้ากำหนดระยะ Stop loss เอง จะใช้ Lot เท่าไหร่

บางท่านอาจจะมีคำถามว่าหากเราต้องการใช้ค่า Stop loss แบบตายตัวล่ะ โดยไม่อยากใช้แบบกำหนด % ขาดทุนจากความเสี่ยง เช่นจะตั้ง Stop loss จาก Swing Low หรือ Swing High ก็คำนวณได้จากสูตร จำนวนเงินขาดทุน/ระยะ Stop loss เช่นวัดระยะ Stop loss ได้ที่ 700 จุด จะยอมขาดทุนออเดอร์นี้ที่ $15 จะเปิดออเดอร์นี้ด้วยค่า Lot เท่าไหร่ ก็สามารถคำนวณง่ายๆได้ดังนี้ $15/700=0.02 สูตรนี้ต้องลองคำนวณด้วยตัวเลขต่างๆที่หลากหลาย และ คำนวณกลับไปกลับมาจากหลายสูตรที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะเข้าใจมองเห็นภาพได้ชัดเจนมายิ่งขึ้น แม้ว่าตัวเลขที่ได้อาจคลาดเคลื่อนไปจากตัวเลขได้เสียจริงๆ แต่มันก็ไม่ได้คลาดเคลื่อนไปจนยอมรับไม่ได้ แต่มันง่ายต่อการคำนวณและการนำมาใช้งานจริง เพราะนี่คือการคำนวณเพื่อเอามาเทรดทำกำไรเป็นเงิน ไม่ได้คำนวณมาเพื่อการสอบเอาคะแนนเรื่องงานเทรด ไม่ต้องไปซีเรียสเรื่องตัวเลขมากเกินไป

หมายเหตุเกี่ยวกับจำนวนจุด

*** สำหรับตัวเลขจำนวนจุดของ Stop loss ที่วัดผ่านกราฟราคา ของบางบัญชีอาจได้ค่าไม่เหมือนกัน เช่น ทองคำ บางบัญชีอาจวัดได้ 4500 จุด จากเครื่องมือ Crosshair (วัดโดยการกดปุ่มกลางของเม้าส์) ซึ่งมักจะใช้ทศนิยมแบบ 3 จุด เช่นราคาทองคำ 1985.450 แต่ทองคำในอีกบัญชีวัดได้ 450 จุด ซึ่งมักจะใช้ทศนิยมแบบ 2 จุด เช่นราคาทองคำ 1985.45 ซึ่งหากวัดได้ 4500 จุด ก็ต้องหารด้วย 10 เพื่อให้ได้จำนวนจุดออกมาที่ถูกต้อง ***

ใครๆก็ชอบขาดทุนน้อยๆ แต่ปัญหาที่ทำไมไม่ใช้ความเสี่ยงที่ 1% มันไม่ได้อยู่ที่การขาดทุน แต่ปัญหามันไปอยู่ที่ตัวเลขของกำไรนี่ซิ ว่าทำไมถึงไม่ใช้ความเสี่ยงที่ 1% กันล่ะ เรามาดูเหตุผลต่อว่าทำไมมือใหม่ถึงไม่ชอบใช้ความเสี่ยงที่ 1% แต่ทำไมมืออาชีพหรือเทรดเดอร์ที่เทรดพอร์ตหรือสอบคงใช้ความเสี่ยงที่ 1% กันเป็นส่วนใหญ่ หากต้องการรู้คำตอบตามมาเลยครับ

ทำไมมือใหม่ถึงไม่ชอบใช้ความเสี่ยงที่ 1%

เหตุผลส่วนใหญ่มือใหม่มักจะคิดว่าการเทรดสั้นก็ต้องเก็บกำไรในระยะจุดน้อยๆเช่นเก็บกำไรที่ 100-200 จุดก็พอ โอเคความคิดนี้ถูกต้องเลย เทรดสั้นก็ต้องเก็บกำไรระยะสั้นๆอยู่แล้วตามชื่อของสไตล์ แต่อย่าไปเน้นเก็บกำไรยาวๆล่ะ แต่ปัญหาคือมันไปติดที่ตัวเลข 1% นี่แหละ เนื่องจากเงินทุนน้อย จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทุน $100 ใช้ความเสี่ยงที่ 1% ก็คือ 1$ ที่ออเดอร์ 0.01 Lot จะได้ระยะ Stop loss ที่ 100 จุด (หากยังไม่เข้าใจที่มาของตัวเลขเหล่านี้ให้ย้อนกลับขึ้นไปอ่านให้เข้าใจเสียก่อน)

ระยะ Stop loss ที่ 100 จุดก็คือยอมขาดทุน $1 ซึ่งหากจะเอากำไรที่ 100 จุด ก็จะได้กำไรที่ $1 เช่นกัน เพราะคิดตัวเลขจำนวนเงินจากจำนวนจุด หากใช้ระยะทำกำไรที่ 2 เท่าของระยะขาดทุนก็คือระยะ Take profit ที่ 200 จุด (นั้นก็คือสัดส่วนของ RR คือ 1 ต่อ 2) ก็จะได้กำไรที่ $2 ดูจากตัวเลขกำไรแล้วก็ต้องส่ายหัว อุตส่าห์นั่งลุ้นการทำกำไรที่ 100-200 จุดแบบหายใจไม่ทั่วท้อง ได้กำไรแค่ $1-$2 เท่านั้น ปัญหาการไม่ใช้ความเสี่ยงที่ 1% จึงอยู่ที่ตัวเลขกำไรเพราะได้น้อย (จริงๆปัญหานี้แก้ได้ด้วยการเปลี่ยนไปเทรดยาวแทย เพราะผู้เขียนเทรดด้วย 0.01 Lot ความเสี่ยง 1% ก็สามารถทำกำไรต่อออเดอร์ได้มากกว่า $50 ถึงมากกว่า $100 ก็ทำมาบ่อยๆ)

หากเป็นเงินทุน $1,000 ความเสี่ยงที่ 1% ก็คือ $10 ถ้าทุน $10,000 ความเสี่ยงที่ 1% ก็คือ $100 ต่อออเดอร์ จะเห็นว่าคนที่เทรดพอร์ต $10,000 จะใช้ความเสี่ยงที่ 1% ต่อออเดอร์ซึ่งจะขาดทุนออเดอร์ละ $100  หากใช้การเปิดออเดอร์ที่ 0.01 Lot ก็จะได้ระยะ Stop loss ที่ 10,000 จุด ($100/0.01=10,000 จุด) ตามสูตรการคำนวณที่ได้กล่าวมาข้างต้น หากเป็นตัวเลขกำไรที่ 200 จุดก็จะได้กำไรที่ $200 ต่อออเดอร์

ยิ่งการเทรดที่ทั่วๆไปจะมีข้อบังคับไว้ห้ามขาดทุนเกิน 5% ต่อวัน และ ขาดทุนสะสมรวมต้องไม่เกิน 10%-12% ตัวเลข % ขาดทุนนี้จะนิยมเรียกว่าค่า DD หรือ Drawdown นั้นเอง

จะเห็นได้ว่าหากเงินทุนมากขึ้น แม้จะใช้ความเสี่ยงที่ 1% แต่ตัวเลขขาดทุน/กำไร และ ระยะ Stop loss ก็จะมากขึ้นตามตัวเลขเงินทุน แต่หากเปิดใจและเข้าใจเรื่องของอัตราส่วนก็จะไม่กดดัน แต่ก็มีนะมือใหม่บางคนใช้ทุนหลัก $100 แต่ใช้ความเสี่ยงที่ 1%-2% ค่อยๆสะสมกำไรที่ละน้อยๆ เวลาผ่านไป 1 ปี พอร์ตก็ไม่ล้างมีการเติบโตแต่อาจไม่มากนักในปีแรก แต่สิ่งที่ได้กำไรที่คิดมูลค่าไม่ได้ก็คือ ทักษะการเอาตัวรอดในตลาดเทรด ซึ่งสำคัญมากและจะส่งผลให้เห็นชัดเจนในปีที่สองขึ้นไป เพราะมีทักษะในการเอาตัวรอดจนสามารถทำกำไรมากมากตามลำดับและตามเงินทุนที่เพิ่มขึ้นจากการทำกำไรต่อเนื่อง

หมายเหตุ สูตรการคำนวณผลการคำนวณที่ได้อาจจะมีความคลาดเคลื่อนจากตัวเลขจริงๆไปบ้างเล็กน้อยในบางคู่เงิน หรือ บางสินค้า แต่ก็ไม่ได้คลาดเคลื่อนไปมากจนส่งผลเสียหายใดๆเลย ข้อดีของสูตรการคำนวณนี้คือง่ายต่อการจดจำในการนำไปใช้ในการเทรด เพราะใช้คณิตศาตร์พื้นฐาน แค่ คูณ กับ หาร เท่านั้น

รวมสูตรคำนวณง่ายๆเพื่อใช้ในงานเทรด

 

ไทม์เฟรมไหนเหมาะกับการเทรดสั้น

หลายๆท่านยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ไทม์เฟรมในการเทรดสั้น โดยส่วนมากมักจะท่องจำและยึดติดตามที่ได้ยินได้ฟังมาว่าเทรดสั้นต้องใช้ไทม์เฟรมเล็กๆ เช่น M1 หรือ M5 หรือ มากสุด M15 ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะในการเทรดที่ดีไม่ว่าจะเทรดสั้น หรือ กลาง หรือ ยาว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ไทม์เฟรมหลายๆไทม์เฟรมในการวางแผนการเข้าเทรด เห็นหลายๆคนยึดหาด M5 เป็นหลักในการเทรดทั้งวิเคราะห์ ทั้งหาจุดเข้าออเดอร์ ถามว่าผืดไหม มันก็ไม่ผิดหรอกหากมีความชำนาญเป็นพิเศษในการเทรดแบบนั้น

แต่หากจะให้ง่าย และ เพิ่มความแม่นยำเราก็ควรใช้หลายๆไทม์เฟรมในการวิเคราะห์ วางแผนการเทรดให้เหมาะสมกัยสถานการณ์ของตลาด

เทรนด์ตามเทรนด์หลักของตลาดหรือการเพิ่มโอกาสของการทำกำไร

การเทรดตามเทรนด์หลักของตลาดคือกลยุทธ์ที่มีความได้เปรียบในการทำกำไรที่สูง และ ลดความเสี่ยงของการโดนราคาวิ่งชน Stop loss ลงไปได้มาก เพราะแรงหลักของตลาดจะวิ่งได้ไกลได้แรง ยิ่งเป็นการเทรดสั้นยิ่งควรเทรดตามเทรนด์หลัก เพราะเมื่อเปิดเข้าออเดอร์ราคามักจะมีโอกาสวิ่งหนีจุด Stop loss ไปได้เร็วไม่ค่อยสวิงแกว่งไปมาให้ใจหาย ราคาวิ่งในระยะ 100-300 จุดใช้เวลาไม่นาน ทำให้ปิดทำกำไรได้เร็ว

จุดออกมองที่ไทม์เฟรมใหญ่ จุดเข้ามองที่ไทม์เฟรมเล็ก

ต้องไม่ลืมว่าไทม์เฟรมใหญ่คือตัวกำหนดทิศทางของไทม์เฟรมเล็ก ตัวอย่างเช่น ไทม์เฟรมใหญ่ H4 มีภาพเทรนด์เป็นขาขึ้นชัดเจน เราจะเน้นใช้ H4 ในการมองเทรนด์หลัก เพราะในระยะ 4 ชั่วโมงราคามักจะเคลื่อนที่ไปตามแรงโมเมนตัมของราคาตามทิศทางของเทรนด์หลักได้ระยะมากพอในการทำกำไรแบบสั้นๆ หากมองที่ D1 มันอาจจะมีรอบการเปลี่ยนแปลงที่นานไปการขึ้นๆลงๆใน D1 จำนวนจุดมีมากอาจโดนชน Stop loss ได้หากไม่ชำนาญพอนั้นก็คือการมองภาพที่ H4 เราจะเห็นระยะของจุดออก หรือ ระยะทำกำไรได้ชัดเจนเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ดี เช่นมองเห็นระยะการเคลื่อนที่ตามเทรนด์มากถึง 1,500 จุด แต่เราจะใช้ระยะเก็บกำไรเพียง 200 จุด ในรอบแรกได้แบบไม่เสี่ยงมากที่ราคาจะชน Stop lossส่วนจะใช้กลยุทธ์แบ่งปิดทำกำไรเพื่อไล่เก็บกำไรตามระยะยาวๆก็เป็นอีกเรื่อง ศึกษาวิธีแบ่งปิดทำกำไรได้จากคอร์สของเว็บนี้ได้เลยได้เขียนไว้แล้ว

เราได้รู้แล้วว่าการหาจุดออกนั้นควรมองจากไทม์เฟรมใหญ่ คราวนี้เราจะมาหาจุดเข้าซึ่งแน่นอนต้องใช้ไทม์เฟรมเล็กลงไป ไทม์เฟรมที่เล็กลงจาก H4 ไทม์เฟรมไหนก็ได้ ยิ่งเล็กยิ่งเห็นรอบของราคาได้ชัดเจน เช่นเราโฟกัสเทรดขาขึ้นตาม H4 ที่เป็นขาขึ้น เมื่อเราย่อไทม์เฟรมเล็กลงเราก็จะรอรอบของการเริ่มต้นของขาขึ้นในไทม์เฟรมเล็ก เพราะในไทม์เฟรมเล็กมันจะมีรอบวิ่งขึ้นลงเป็นรูปภูเขา รอบขาขึ้นก็มักจะลาดยาวมากกว่ารอบขาลง ตามแรงของเทรนด์หลักที่เป็นขาขึ้น เราก็จะได้จุดเริ่มต้นที่สอดคล้องกับไทม์เฟรมหลักคือ H4 โอกาสที่ราคาจะวิ่งยกระดับขึ้นไปตามหลักทฤษฎีดาวน์ก็มีโอกาสมาก ราคาจึงวิ่งห่างจุด Stop loss ออกไปเรื่อยๆ นี่คือการลดความเสี่ยงในการโดนชน Stop loss เมื่อเราเข้าออเดอร์ที่ไทม์เฟรมที่เล็ก การหารอบของราคาเราอาจมองด้วยกราฟเปล่าจากจังหวะการย่อตัวของราคา หรือ อาจใช้โมเมนตัมของเครื่องมือออสซิลเลเตอร์เพื่อหาการเปลี่ยนรอบของราคาได้เช่น RSI ,Stochastic ,MACD หรือตัวอื่นๆ

ดังนั้นจะเห็นได้ถึงความสัมธ์ระหว่างไทม์เฟรมต่างๆในการหาจุดเข้า และ จุดออก ซึ่งหากตีความตามบทเรียนนี้ก็คือต้องมองหาจุดออก หรือ ระยะการทำกำไรก่อน เพื่อจะใช้เทรดตามแรงหลักของตลาด แล้วค่อยย่อไทม์เฟรมลงไปหาจุดเข้าออเดอร์ หากยังมองภาพของรอบราคาในแต่ละไทม์เฟรมไม่ออกให้ศึกษาเรื่องไทม์เฟรมโดยตรงได้ในคอร์สเรียนเพราะจะได้เห็นภาพตัวอย่างได้ชัดเจน เนื่องจากบทเรียนนี้ต้องการให้กระชับมากที่สุดในเนื้อหาเฉพาะเรื่องของเทรดสั้น

เครื่องมือตัวไหนที่แม่นยำที่สุดสำหรับการเทรดสั้น

เราได้เรียนรู้ไปแล้วถึงการวางแผนก่อนเทรดว่าทำอย่างไรที่จะอยู่ในเกมการเทรดให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด โดยใช้กลไกการจำกัดความเสี่ยง คราวนี้เรามาศึกษาเรื่องของสัญญาณหรือเครื่องมือที่จะใช้ในการเทรดสั้นกัน หากสนใจเทรดสั้นตามมาเลยครับ

Login เพื่ออ่านต่อ...

เนื้อหาทั้งหมดของบทเรียนนี้ ทั้งบทความ ,วีดิโอ ,ไฟล์ PDF เข้าดูได้เฉพาะสมาชิกของ Sniper-III+คอร์ส เท่านั้น โดยการ Login เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าห้องเรียนในบทต่างๆ

หากยังไม่เป็นสมาชิก

คลิ๊กที่นี่เพื่อสมัครเข้าคอร์สเรียนพร้อมรับระบบเทรด Sniper-III

Existing Users Log In