คู่มือการใช้งานระบบเทรด MT5 TDA SYSTEM ตอนที่ 2
เทคนิคการใช้เครื่องมือแนวรับ แนวต้าน ของระบบเทรด MT5 TDA SYSTEM
จากตอนที่ 1 ได้เกริ่นถึงข้อดีของการเทรดด้วยแนวรับ แนวต้านไปแล้ว คราวนี้เรามาดูวิธีการใช้งานของจริงกัน ในตัวอย่างการเทรดครั้งนี้เราจะเน้นการเทรดสั้นๆ โดยถือออเดอร์จบภายในวัน ไม่ถือข้ามวันถ้าไม่ได้เปรียบจริงๆ เราจะใช้ D1 เป็นตัวกำหนดกรอบการเทรดในเบื้องต้น แต่ก็จะสอดแทรกเอาหลักการของ Institutional Order Flow มาอธิบายประกอบ เพื่อให้รู้ทันตลาดมากยิ่งขึ้น
ที่เลือกกราฟ EURUSD มาเป็นตัวอย่างเพราะรูปแบบของกราฟขณะนี้เหมาะที่จะเอามาเป็นกรณีศึกษามากกว่าตัวอื่นๆ ในภาพล่างเป็นกราฟ D1 เทรนด์ก่อนหน้าเป็นขาขึ้นมาต่อเนื่อง และ ต่อมาราคาได้ทำ Low ที่ต่ำกว่า Low ก่อนหน้า ถือว่าเป็นการทำ BoS หรือ Break Of Structure หรือ การทำลายโครงสร้างเดิมคือขาขึ้น เป็นการส่งสัญญาณเบื้องต้นว่าเทรนด์มีโอกาสเปลี่ยนไปเป็นขาลงในอนาคต หากจะแน่ใจว่าโครงสร้างจะเปลี่ยนเป็นขาลง ราคาจะต้องลงมาต่ำกว่าจุดหมายเลข 3 ให้ได้ก่อน
การวิเคราะห์เบื้องต้น ราคาปัจจุบันอยู่ใกล้บริเวณแนวต้าน D1 (หมายเลข 1) เป็นโซนราคาที่อยู่ใกล้ที่สุด ถ้าราคาไม่สามารถผ่านหมายเลข 1 ขึ้นไปได้ ราคาก็จะกลับตัวลงมา เพื่อสะสมกำลัง โดยทิศทางของราคาจากปัจจุบันจะมี 2 ทางเลือกคือ
1. เป้าหมายคือแนวต้าน W1 ที่จุด R เหตุผลคือการที่ราคาจะปรัยตัวลงเพื่อเปลี่ยนเทรนด์ไปเป็นขาลง ราคาจะไม่ลงทันทีที่หมายเลข 1 เพราะตลาดต้องทำการสร้างต้นทุนราคาถูกก่อน บริเวณหมายเลข 3 คือระดับต้นทุน เป็นจุดกลับตัวของคลื่นปัจจุบัน เมื่อตลาดดันราคาขึ้นไปสูงๆ แต่ต้องไม่สูงกว่าจุด H บริเวณที่เหมาะสมที่จะได้ราคาขายที่ดีสุดก็คือบริเวณจุด R หากใช้ฟิโบนัชชีวัดจุด R ก็จะได้ประมาณ 78.6% การเทขายที่จุด R จึงเป็นจุดที่ได้ราคาขายที่ดี หรือ ที่เรียกว่า Premium zone
เมื่อเอารูปแบบ Pattern มาอธิบายจุด L ก็คือ ไหล่ซ้าย และ H ก็คือศีรษะ และ R ก็คือไหล่ขวา ของรูปแบบ QML Pattern นั้นเอง คำอธิบายตั้งแต่ข้างต้นก็คือเหตุผลของการเกิดรูปแบบ QML Pattern นั้นเอง
2. ราคาไม่สามารถทะลุหมายเลข 1 ขึ้นไปได้ และ ราคาปรับตัวลงยาวๆ มีเหตุผลเดียวคือ ข่าวแรง จากการแข็งค่าของสกุลเงิน USD ส่งผลให้ราคาของ EURUSD ร่วงลงแรงๆ
จากภาพข้างบนเราได้ทำการวิเคราะห์ทิศทางในภาพรวมใหญ่ที่ D1 ไปแล้ว ทำให้เรามองเห็นทิศทางอนาคตไปในระดับหนึ่งว่าราคาจะมีโอกาสไปทางไหน ซึ่งในภาพรวมใหญ่ที่ D1 เราจะคาดการณ์ได้ถึงการดันราคาขึ้นไปทำไหล่ขวาของ QML Pattern หรือ ทำ Premium zone เพื่อให้ได้จุดทำกำไรที่ดีของการขายลงมา
คราวนี้เรามาดูที่ H4 ตามภาพล่างนี้ เราจะมองเส้นประและเส้นทึบที่อยู่ติดกันเป็นโซนราคา มันก็คือการตีจากปลายไส้เทียนมาหาราคาปิดที่เนื้อเทียนนั้นเอง คงมองออกแล้วนะครับว่าเครื่องมือตีเส้นแนวรับ แนวต้าน ของระบบเทรด MT5 TDA มันช่วยให้เราสร้าง Supply zone หรือ Demand zone ได้อย่างไร
ตรงแถบแนวต้าน H4 หมายเลข 2 และ แถบแนวรับ H4 หมายเลข 3 จะเห็นว่าราคาได้วิ่งออกข้างเป็น Sideway โดยการทำระดับ High (EQH) และ ระดับ Low (EQL) ที่เท่ากัน ซึ่งเป็นรูปแบบของการสร้างสภาพคล่องของขาใหญ่ (Liquidity zone) บริเวณระหว่าง หมายเลข 1 กับ 2 และ บริเวณหมายเลข 3 กับ 4 จะมีโอกาสเกิดการกระชากแทงไส้ยาวๆ เพื่อกิน Stop loss ของออเดอร์ทั้งหมดที่บริเวณ หมายเลข 2 และ 3 ที่เรียกว่าการทำ Stop hunting ของขาใหญ่
ตรง Demand zone ซึ่งมาจากรูปแบบ R-B-R และ ราคาก็ได้ทำรูปแบบ Sideway ตามภาพ จุดที่เราจะโฟกัสก็คือ บริเวณ Demand zone หรือ หมายเลข 4 นั้นเอง ซึ่งเป็นโซนเป้าหมายที่ราคาจะลงมาทดสอบหรือเก็บของก่อนจะดีดตัวขึ้นไปยาวๆ ตามมุมมองที่ D1
แต่ที่ H4 นี้เราจะโฟกัสหน้าเทรดสั้นที่ฝั่งขาลง เหตุผลคือ ราคาปัจจุบันอยู่ใกล้แนวต้าน และ Supply zone โดยเราจะไม่เข้าเทรดในบริเวณหมายเลข 2 เพราะมีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อโดนแทงกิน Stop loss ได้ แต่เราจะวาง Sell Limit ไว้ที่ช่วงกลางระหว่างหมายเลข 1 และ 2 และ และ วาง วาง Sell Limit ไว้อีกออเดอร์บริเวณหมายเลข 1
ภาพล่างนี้ได้ใช้ปุ่ม รับ-ต้าน วันนี้ ซึ่งจะเป็นปุ่มที่ออกแบบให้สร้างแนวรับ-แนวต้าน โดยอ้างอิงหลักการคำนวณแบบ Pivot point มาใช้สร้างเส้นแนวรับ-แนวต้าน จะเห็นได้ว่าเส้นต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น มันสามารถอธบายและรองรับจากการใช้วิธีการสร้างเส้นแนวรับ-แนวต้าน โดย 5 ไทม์เฟรมตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ภาพล่างนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าราคามีโอกาสกระชากขึ้นไปในบริเวณ Overbought และ ยังมีโอกาสกระชากลงมาในบริเวณ Demand zone และ Oversold ทำให้เราได้เห็นโซนที่เราจะเตรียมตัวรอเข้าเทรดได้ชัดเจน ไม่เป็นการเทรดแบบมั่วๆ
ภาพล่างนี้เราย่อลงมาอีกชั้นไปที่ H1 เพื่อดูรายละเอียดของโซนราคา ซึ่งจะเห็นมุมมองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป้าหมายการเข้าเทรดตอนนี้คือการโฟกัสที่ฝั่ง Sell โดยรอการเข้าเทรดที่บริเวณ Supply zone และ เผื่ออีกระดับคือที่ R3 ที่อยู่เหนือ Supply zone แล้วค่อไปเปลี่ยนหน้าเทรดใหม่เป็นฝั่ง Buy เมื่อราคาลงมาบริเวณ Demand zone
โดยรอให้ราคาเข้าไปใกล้ๆ หรือ แตะ โซนราคาก่อน แล้วค่อยซูมเข้าไปดูในไทม์เฟรมที่เล็กลงกว่า H1 เช่น M1 หรือ M5 หรือ M15 เช่น สมมุติหากราคาวิ่งขึ้นไปแตะ Supply zone ให้เราย่อไทม์เฟรมลงไป แล้วดูว่าโครงสร้างราคาขาขึ้นในไทม์เฟรมเล็กๆนั้นถูกทำลาย แล้ว หรือ ยัง หากพบว่าโครงสร้างทำ High ใหม่ไม่ได้ และ ทำ Low ที่ต่ำลงเรื่อยๆ นั้นคือการยืนยันถึงการเข้าเทรดฝั่ง Sell ที่บริเวณ Supply zone สำหรับ Demand zone ก็แค่มองกลับฝั่งกันเท่านั้นคือมองว่าเทรนดืขาลงของไทม์เฟรมเล็กๆนั้นโดนทำลายโครงสร้างแล้วหรือยัง
https://sniper3.com/mt5-tda-2
Login เพื่ออ่านต่อ...
เนื้อหาทั้งหมดของบทเรียนนี้ ทั้งบทความ ,วีดิโอ ,ไฟล์ PDF เข้าดูได้เฉพาะสมาชิกของ Sniper-III+คอร์ส เท่านั้น โดยการ Login เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าห้องเรียนในบทต่างๆ
หากยังไม่เป็นสมาชิก
คลิ๊กที่นี่เพื่อสมัครเข้าคอร์สเรียนพร้อมรับระบบเทรด Sniper-III