คู่มือการใช้งานระบบเทรด MT5 TDA SYSTEM ตอนที่ 1

คู่มือการใช้งานระบบเทรด MT5 TDA SYSTEM

ระบบเทรด MT5 TDA SYSTEM เป็นชื่อย่อมาจากเทคนิค Top Down Analysis คือการวิเคราะห์จากบนลงมาล่าง หรือ การเริ่มต้นมองจากภาพรวมใหญ่ แล้วค่อยๆย่อยลงมามองในส่วนที่เล็กลง ในวงการเทรดก็คือการเทรดด้วยการมองจากหลายๆไทม์เฟรมนั้นเอง เทคนิคการเทรดทำกำไรที่ได้รับความนิยมสูงสุดในวงการเทรดมายาวนานตั้งแต่เริ่มมีตลาดเทรดเกิดขึ้นบนโลกนี้ก็คือการเทรดตามแนวโน้ม (Trend) หลักของตลาด ซึ่งเป็นเทคนิคยอดนิยมแรกของวงการ ต่อมาก็ค่อยมีเทคนิคแบบอื่นๆตามมาทีหลัง

การเทรดแบบตามแนวโน้มหลักของตลาดชื่อก็บ่งบอกความหมายอยู่แล้ว หลักการของเทคนิค Top Down Analysis ก็คือการเริ่มต้นจากการมองเทรนด์ในไทม์เฟรมที่ใหญ่ๆก่อน โดยหลักของของเทคนิค Top Down Analysis จะแบ่งไทม์เฟรมออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1. ไทม์เฟรมแนวโน้ม ก็คือไทม์เฟรมที่ใหญ่สุดในการเลือกของเรา

2. ไทม์เฟรมวางแผนการหาโซนราคาที่จะเข้าเทรด จะเป็นไทม์เฟรมที่เล็กลงกว่า ไทม์เฟรมแนวโน้มในข้อที่ 1

3. ไทม์เฟรมเข้าออเดอร์ จะเป็นไทม์เฟรมที่เล็กที่สุดใน 3 ข้อนี้

หลักการสำคัญของเทคนิค Top Down Analysis ก็คือไทม์เฟรมวางแผนหาโซนราคาที่จะเข้าเทรดตามข้อที่ 2 ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกระยะทำกำไรเท่าไหร่ เพราะเราจะมองระยะการทำกำไรที่ไทม์เฟรมวางแผนนี้ เช่น เปิดกราฟ H1 ขึ้นมา ลองมองหากลุ่มแท่งเทียนขนาดปกติที่มันวิ่งเรียงกันที่ ไม่มีแท่งยาวๆในตอนมีข่าวปนอยู่ ลองวัดระยะห่างของ 5 แท่งเทียนดูว่าได้ระยะประมาณกี่จุด วัดคร่าวๆจะวัดจากไส้ หรือจากเนื้อเทียนก็ได้ ไม่ต้องซีเรียส ระยะ 5 แท่งเทียนเคลื่อนที่ได้เท่าไหร่ก็คือค่าเฉลี่ยของระยะที่ควรใช้ทำกำไรของคู่เงินนั้นๆ

การวัดระยะทำกำไรไม่ควรใช้แท่งเทียนมากกว่า 5 แท่ง เพราะมันใช้เวลานานเกินไป แม้ว่าราคาอาจจะไปตามทิศทางนั้นมากกว่า 5 แท่งก็จริง แต่ระหว่างทางอาจจะเจอราคากระชากแรงๆ ก่อนจะไปตามทิศทางหลัก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อจุด Stop loss ได้ ในการณ์ที่วาง Stop loss ใกล้ๆ

การหาระยะการทำกำไรจากไทม์เฟรมวางแผน ท่านอาจจะใช้วิธีการตามภาพล่างนี้ก็ได้ หรือ จะวัดสุ่มๆแล้วกะคร่าวๆในใจเอาเองก็ได้ แต่หากเราสุ่มวัดจากหลายๆชุด แล้วเอามาคำนวณหาค่าเฉลี่ย จะทำให้ค่าตัวเลขระยะการทำกำไรใกล้ความจริงมากที่สุด ตามตัวอย่างนี้คือระยะการทำกำไรโดยเฉลี่ยของกราฟทองคำที่ H1

หาระยะการทำกำไร

 

เมื่อเราได้เลือกใช้ H1 เป็นไทม์เฟรมวางแผน และ ได้ระยะทำกำไร แล้ว ขัั้นตอนต่อไปเราก็มาหาแนวโน้มหลัก หรือ เทรนด์หลัก ที่เราจะใช้ในการอ้างอิงร่วมกับไทม์เฟรมวางแผน H1 ตามหลักการของเทคนิค Top Down Analysis ก็จะใช้วิธีมองไทม์เฟรมที่ใหญ่หรือสูงกว่าไทม์เฟรมวางแผน 1 ชั้น นั้นก็คือ H4 ซึ่งจะมีอัตราส่วน 4 เท่าของ H1 เป็นสัดส่วนที่มากพอที่จะใช้อ้างอิงเป็นไทม์เฟรมแนวโน้มให้กับ H1 ได้ อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ D1 ในการอ้างอิงร่วมก็ได้

แต่ในกรณีที่ชำนาญมากแล้ว การใช้ D1 อ้างอิง เราจะสามารถใช้การย่อตัว (Pullback หรือ Rebound) ของ H4 มาใช้ประโยชน์ร่วมในการใช้เป็นไทม์เฟรมแนวโน้ม ตามข้อที่ 1 ได้ นั้นก็คือการใช้บน 2 ไทม์เฟรมเป็นไทม์เฟรมแนวโน้ม เบื้องต้นแนะนำให้เลือกใช้ไทม์เฟรมแนวโน้มเพียง 1 ไทม์เฟรมก็พอ

มาถึงตรงนี้เราได้ไทม์เฟรมออกมาแล้ว 2 ไทม์เฟรมคือ

H4 ไทม์เฟรมแนวโน้ม

H1 ไทม์เฟรมวางแผน

ที่เหลือก็คือไทม์เฟรมเข้าออเดอร์ซึ่งข้อนี้ไม่มีสูตรตายตัว ขอเพียงต่ำกว่าไทม์เฟรมวางแผนก็โอเคแล้ว เราอาจจะใช้ M15 หรือ M5 หรือ M1 ในการเข้าออเดอร์ก็ได้ ขอเพียงต้องยึดกฎหลักคือต้องเข้าออเดอร์เมื่อเกิดการย่อตัว (Pullback หรือ Rebound)  ในไทม์เฟรมที่จะใช้เข้าออเดอร์ กฎข้อนี้สำคัญมาก

 

การทำงานของระบบเทรนด์หลัก

ระบบตรวจสอบเทรนด์หลักของระบบเทรด MT5 TDA SYSTEM จะใช้การมองจากภาพรวมใหญ่ของงกราฟของไทม์เฟรมนั้นๆ โดยอ้างอิงตามทฤษฎีดาวน์ ตามภาพล่างนี้ที่ไทม์เฟรม H1 แสดงเทรนด์หลักเป็นขาขึ้น การเรียกเส้นเทรนด์ไลน์ขึ้นมาแสดงนั้นให้คลิ๊กที่ปุ่ม “เทรนด์หลัก”

1-ตัวอย่างเทรนด์หลักขาขึ้น

 

ภาพล่างนี้แสดงเทรนด์หลักเป็นขาลง โดยอ้างอ้งจุด Low ลดตัวลง และ High ลดตัวลง

1-ตัวอย่างเทรนด์หลักขาลง

 

ภาพล่างนี้แสดงเทรนด์หลักเป็นการพักตัว หรือ ราคาวิ่งออกข้างเป็น Sideway โดยสังเกตุจาก จุด Low และ High ที่วิ่งไปคนละทาง

1-ตัวอย่างเทรนด์หลักพักตัว

 

การทำงานของระบบเทรนด์ย่อย

เทรนด์ย่อยในที่นี้หมายถึงเทรนด์ล่าสุดที่กำลังวิ่งอยู่ หรือ เรียกอีกแบบหนึ่งคือเทรนด์ในท่อนปัจจุบันหากมองการขึ้นลงของกราฟเป็นแบบฟันปลา ตามภาพล่างนี้ราคาท่อนปัจจุบันได้วิ่งลงต่อเนื่อง จึ้งเกิดการแสดง DOWN ที่ช่องของเทรนด์ย่อย

ตัวอย่างการเกิด Down ในเทรนด์ย่อย

 

ภาพล่างนี้ราคาท่อนปัจจุบันได้วิ่งลงมาต่อเนื่อง และ ราคาได้วิ่งสวนทางย้อนกลับขึ้นไปทำ Rebound เพื่อรอการดีดตัวลงไปต่อตามเทรนด์ท่อนปัจจุบัน

ตัวอย่างการเกิด Rebound ในเทรนด์ย่อย

 

ในภาพล่างนี้ราคาปัจจุบันได้วิ่งขึ้นต่อเนื่อง จึงแสดงสถานะเป็น UP ที่ช่องเทรนด์ย่อย

ตัวอย่างการเกิด UP ในเทรนด์ย่อย

 

ภาพล่างนี้ราคาท่อนปัจจุบันได้วิ่งขึ้นมาต่อเนื่อง และ ราคาได้วิ่งสวนทางย้อนกลับลงมาทำ Pullback เพื่อรอการดีดตัวขึ้นไปต่อตามเทรนด์ท่อนปัจจุบัน

ตัวอย่างการเกิด Pullback ในเทรนด์ย่อย

 

แล้วจะใช้งานไทม์เฟรมวางแผนอย่างไร?

ในการเทรดที่ถูกต้องตามหลักการเราจะไม่เข้าเทรดพร่ำเพรื่อ หรือ เข้าเทรดตามใจฉัน เราจะต้องมีโซนราคาที่ชัดเจนเสียก่อน ไม่งั้นเราก็จะเจอการเปิด Buy ที่ยอดดอย และ เปิด Sell ใต้ก้นเหว เปิดออเดอร์เสร็จราคาไปอีกทางยาวๆ ดังนั้นเพื่อให้การเทรดแต่ละครั้งมีโอกาสทำกำไรได้มากกว่าขาดทุน

เรื่องผิดพลาดขาดทุนมันหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนในงานเทรด เพียงแต่ขอให้ความผิดพลาดนั้นมันต่อเนื่องมาจากเราได้วางแผนมาดีแล้ว แต่มันเกิดสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง หรือ เราไม่สามารถวาง Stop loss ได้ไม่ไกลนักเพราะทุนจำกัด หรือ เกิดสถานการณ์ราคาวิ่งกระชากจากข่าวแรง ดังนั้นทุกๆออเดอรืที่จะเข้าเทรด เราต้องพอถีพิถัน วางแผนให้รอบคอบ ต้องมีผลเหตุรองรับว่าทำไมเราถึงตัดสินใจเข้าเทรด เราต้องอธิบายเหตุผลได้ ไม่ใช่การเข้าเทรดแบบไม่มีเหตุผลที่รับฟังได้ เข้าเทรดเพราะคิดแค่ว่าดูแล้วราคามันจะวิ่งไปตามที่คิดเองเออเอง

แนวรับ-แนวต้าน คือหัวใจสำคัญของงานเทรด

แนวรับ แนวต้าน หรือ หัวใจหลักของงานเทรด ทฤษฎีต่างๆ หรือ เครื่องมือ เทคนิคต่างๆ เช่น Fibonacci ,Trendline หรือ Demand & Supply หรือ Order Block รวมถึง Price Pattern รูปแบบต่างๆ เช่น Elliott Wave ,Harmonic Pattern ฯลฯ มันมีความเกี่ยวข้องกับแนวรับ-แนวต้านทั้งนั้น นี่เราพูดถึงหลักสากล หลักของคนส่วนใหญ่ จริงอยู่อาจจะมีโค้ชหรืออาจารย์สอนเทรดบางท่านบอกว่าไม่จำเป็นต้องใช้แนวรับ-แนวต้านในการเทรด หรือ บอกว่าแนวรับแนวต้าน ไม่สำคัญ อันนี้ก็คงไม่ได้ผิดสำหรับเทคนิคเฉพาะที่เขาใช้สอนหรือใช้เทรด ถือว่าเป็นเทคนิคเฉพาะตัว หรือ ความสามารถเฉพาะตัวของโค้ชหรืออาจารย์ท่านนั้นๆ

แต่ ณ.ตรงนี้และในแนวคิดของผู้เขียนเอง ขออนุญาตยึดเอาหลักการที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ เพื่อให้เราได้เห็นมุมมองด้านจิตวิทยาหมู่ของคนส่วนใหญ่ในตลาดว่ากำลังคิดอะไรอยู่ แล้วจึงงัดเอาหลักคิดหรือวิธีการของคนส่วนน้อยที่ใช้เทรดทำกำไรจากคนส่วนใหญ่ได้ เพราะงานเทรดมันคือการเอากำไรจากคนส่วนใหญ่มาจ่ายให้คนส่วนน้อย ขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดเพราะนี่คือคู่มือใช้งานระบบเทรดไม่ใช่คอร์สสอนเทรดเชิงลึก

หากเราให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร เรื่องนั้นมันก็จะสร้างประโยชน์ให้กับงานของเราในที่สุด เมื่อเราให้ความสำคัญเรื่องใดเราก็ย่อมเข้าใจเรื่องนั้นดีถึงดีมากๆ แน่นอนเมื่อเราเข้าใจดีมันย่อมสร้างประโยชน์ให้กับเราได้มากเท่ากับความสำคัญที่เราให้กับเรื่องนั้น  แนวรับ แนวต้าน จะมีความสำคัญต่องานเทรดของเรามากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่าเราให้ความสำคัญกับมันมากน้อยแค่ไหน

สำหรับในคู่มือนี้การเข้าเทรดแต่ละครั้งจะต้องมีเรื่องของแนวรับ แนวต้าน รองรับ หรือ อ้างอิงได้ว่ามันเป็นแนวรับ หรือ แนวต้านที่มีนัยยะสำคัญมากน้อยแค่ไหนสมควรเข้าเทรดหรือไม่ เทคนิคที่ใช้งานได้ผลดีแนะนำใช้เทคนิค Demand & Supply หรือ Order Block ซึ่งท่านสามารถศึกษาได้จากคอร์สที่แถมให้ฟรีได้โดยตรง หรือ ศึกษาจากวีดีโอในหลุ่มไลน์ซึ่งจะจัดทำเป็นตอนๆให้อีกครั้ง

สำหรับในคู่มือนี้จะเน้นไปที่เรื่องของการใช้งานเครื่องมือของระบบเทรด MT5 TDA System เพื่อมองหาโซนการเทรดจากแนวรับ-แนวต้านที่เห็น ซึ่งเราสามารถเอาไปใช้ประกอบการหา Demand & Supply หรือ Order Block ได้เป็นอย่างดี หากเรามองแนวรับ-แนวต้านออกและถูกต้อง เราก็จะสามารถต่อยอดไปสู่เทคนิคอื่นๆได้อีกมากมาย

ในตอนที่ 2 จะเป็นเทคนิคการใช้เครื่องมือแนวรับแนวต้านของระบบเทรด MT5 TDA System ในการเทรดจริง

https://sniper3.com/mt5-tda-1

Login เพื่ออ่านต่อ...

เนื้อหาทั้งหมดของบทเรียนนี้ ทั้งบทความ ,วีดิโอ ,ไฟล์ PDF เข้าดูได้เฉพาะสมาชิกของ Sniper-III+คอร์ส เท่านั้น โดยการ Login เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าห้องเรียนในบทต่างๆ

หากยังไม่เป็นสมาชิก

คลิ๊กที่นี่เพื่อสมัครเข้าคอร์สเรียนพร้อมรับระบบเทรด Sniper-III

Existing Users Log In